Text
การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาให้แก่คนไทยทุกช่วงวัย และการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ไทยในยุคดิจิทัล
กรอบแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนต้องได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” และกำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา บทความนี้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยแบ่งหัวข้อในการนำเสนอออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนแรกจะกล่าวถึงความเป็นมาและนโยบายในการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศ และของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มเอเชียและแปซิฟิก และประเทศในกลุ่ม E9 ส่วนที่สองจะกล่าวถึงนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยของประเทศไทย ส่วนที่ 3 จะกล่าวถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ทุกช่วงวัยด้วยการศึกษาของประเทศไทย ส่วนที่ 4 จะเป็นข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัยของคนไทย และส่วนสุดท้ายจะเป็นข้อเสนอแนะในประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการการพัฒนาทุนมนุษย์ของชาติ
No copy data
No other version available